สังคมผู้สูงอายุ คือ สังคมของคนทุกวัย

4116 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สังคมผู้สูงอายุ คือ สังคมของคนทุกวัย

มีงานวิจัยพบว่าในปี 2566 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ ' สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบโดยสมบูรณ์ ' ซึ่งมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มาตั้งแต่ปี 2548 โดยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทย เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นอันดับ 2 ของ อาเซียน

 

      การที่ประเทศไทยมีอัตราการเกิดและอัตราการเสียชีวิตที่ลดลง ประกอบกับประชากรมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น อันเนื่องมาจากพัฒนาการทางการแพทย์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการดูแลสุขภาพ เหตุนี้เราจึงควรหันมาส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี 

 

โดยยึดมั่นองค์ประกอบสำคัญของการเป็น Active Ageing 3 หลักประการ

  1. มีสุขภาพที่ดี

  2. มีหลักประกัน

  3. มีความมั่นคงในชีวิต

 

เนื่องจากรูปแบบการอยู่อาศัยของครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต ขนาดครอบครัวแต่ละครัวเรือนมีขนาดเล็กลงเหลือจำนวนสมาชิกเฉลี่ย 3 คน ต่อครอบครัว แนวโน้มการอยู่คนเดียวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในวัยสูงอายุ คนวัยหนุ่ม-สาว ยุคใหม่มีแนวโน้มแต่งงานช้าลงเรื่อยๆและนิยมมีบุตรน้อยลงหรือบางส่วนแต่งงานแต่ไม่ต้องการมีบุตร จึงทำให้สัดส่วนเด็กเกิดน้อยลง ส่งผลให้ประชากรที่จะเติบโตไปทดแทนวัยแรงงานมีจำนวนลดลง 

 

    ทำให้สัดส่วนวัยแรงงานลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตรส่วนพึ่งพิงของวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ทำให้มองเห็นภาพในอนาคตของสังคมไทยที่ประชากรวัยแรงงานในปัจจุบันจะกลายเป็นกลุ่มผู้สูงอายุขนาดใหญ่ในอนาคตและคนกลุ่มนั้นนอกจากต้องเลี้ยงดูตนเองแล้วยังต้องมีภาระในการเลี้ยงดูบิดา-มารดาที่เป็นผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

จากสถานการณ์ทางด้านประชากร จึงทำให้ประเทศไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมรับมือ และ กำหนดมาตรการรองรับสังคมสูงวัย

  • เริ่มจากการปรับเปลี่ยน Mindset ของคนทุกวัยให้พร้อมที่จะเรียนรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่อง สังคมผู้สูงอายุ คือ สังคมของคนทุกวัยที่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันทุกช่วงวัย

โดยทุกคนต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมรูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคตของคนทุกวัยจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของแต่ละบุคคล ดังนั้นการสร้างความตระหนักและนำไปสู่การปรับพฤติกรรมของบุคคลจึงเป็นสิ่งที่ยากต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งต้องสื่อสารทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง 

ปรับเปลี่ยน MindSet โดยเร่งส่งเสริมให้ประชากรไทยมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทุกวัย มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน และ มีผลกระทบต่อกันในทุกช่วงวัย 

 ผู้สูงอายุหลายคนประสบกับความสามารถทางร่างกายและจิตใจที่ลดลงซึ่งหมายความว่าพวกเขาไม่สามารถดูแลตัวเองได้ หากปราศจากการสนับสนุนและความช่วยเหลือ การเข้าถึงการดูแล 


จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการพึ่งพาเพิ่มสูงตาม

ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรจะเตรียมความพร้อมในเรื่องของสภาวะต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อ ให้สามารถจัดการกับสภาวะต่างๆได้ง่ายขึ้น


ด้านร่างกาย

  • อาการเหนื่อยล้า
  • อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูก
  • อาการอ่อนเพลีย นอนหลับไม่เต็มอิ่ม

ด้านอารมณ์

  • จิตตก หงุดหงิดง่าย
  • ท้อแท้ เบื่อหน่าย
  • มีปากเสียง ทะเลาะ ทำร้ายร่างกาย ผู้สูงอายุ

ด้านเศรษฐกิจ

  • ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าจ้างดูแล 
  • ต้องหยุดทำงาน หรือ ลาออกจากงาน
  • มีหนี้สิน เงินใช้จ่ายไม่เพียงพอ

ด้านสังคม

  • มีโอกาสพบปะเพื่อนน้อยลง 
  • มีปัญหาขัดแย้งกับพี่-น้อง 
  • ไม่มีเวลาให้ครอบครัว
  • เวลาส่วนตัวน้อยลง

 

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้